ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา

ประวัติวัดสว่างอารมณ์

ความเป็นมาแต่เดิม

วัดสว่างอารมณ์เดิมมีชื่อว่า วัดคลองแขก โดยเป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นในปี พุทธศักราช ๒๔๒๕ ที่ตั้งเดิมเป็นพื้นทีป่า มีพืชพรรณนานสมบูรณ์  เจ้าของเดิมคนแรกเป็นของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมสวรได้ตกทอดมาถึงคนสุดท้ายคือ นายจุ่น ทังสุบุตร ได้มอบให้เป็นธรณีสงฆ์ ตั้งบัดนั้นเป็นต้นมาและได้มีประชากรได้ตั้งบ้านเรือนกระจัดกระจายและประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นส่วนใหญ่ ในสมัยนั้นประชากรมีหลายชนชาติ หลายเผ่าพันธุ์ มีทั้ง ไทย จีน และแขก โดยแขกสมัยนั้นทำการขุดคลองเพราะว่าในพื้นที่นั้นเป็นที่ดอน จึงได้ชื่อว่า  คลองแขกหัวโต  อาจจะเป็นไปได้ว่าคนแขกสมัยนั้นโผกหัวจนหัวโต ต่อได้มีประชากรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆแต่ยังไม่มีวัดซึ่งเป็นศูนย์กลางทางศาสนาและสถานที่ประกอบศาสนพิธีต่างๆ จึงทำการรวมมือสร้างวัดขึ้นมา  เริ่มก่อสร้างในสมัย พุทธศักราช ๒๔๒๕ โดยมีความคิดเห็นตรงกันว่าด้านทิศตะวันตกนั้นมีคลองผ่าน มีความสมบูรณ์ดี  เหมาะแก่การเพราะปลูกและเหมาะกับการสร้างจึงได้ชื่อว่า  วัดคลองแขก  เวลาผ่านมาจนประชากรเพิ่มขึ้นมาจึงทำการเปลี่ยนชื่อมาเป็น วัดสว่างอารมณ์ ตั้งแต่ พุทธศักราช ๒๔๘๑ จนมาถึงปัจจุบันนี้

 

สามารถสรุปหลักฐานและกาลเวลาดังนี้

เริ่มสร้างวัด      เมื่อประมาณ พุทธศักราช  ๒๔๒๕

ขอตั้งวัด         เมื่อประมาณ พุทธศักราช  ๒๔๕๑

เปลี่ยนชื่อวัด    เมื่อประมาณ พุทธศักราช  ๒๔๘๑

 

ที่ตั้งวัดปัจจุบัน

วัดสว่างอารมณ์ เดิมชื่อว่าวัดคลองแขก เป็นวัดราษฏร์ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย 

เขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอบางเลน  จังหวัดนครปฐม ภาค ๑๔ 

ตั้งอยู่เลขที่ ๘  หมู่ที่ ๖ ตำบลนราภิรมย์  อำเภอบางเลน  จังหวัดนครปฐม

 

เนื้อที่ตั้งวัดปัจจุบัน

มีเนื้อที่ทั้งหมด ๑๐๔ ไร่  ๓ งาน ๔๒ ตารางวา ตามโฉลดที่ดินเลขที่  ๕๓๒๙,๓๒๐๖

ทิศเหนือ                     จด           คลองสิบศอก นราภิรมย์ ไทรน้อย

ทิศใต้                         จด           ที่ดินเลขที่  ๑๙ น ๓๐ อ.

ทิศตะวันออก                จด           ที่ดินเลขที่  ๑๙  คลองสิบศอก

ทิศตะวันตก                  จด           คลองวัดสว่างอารมณ์  ที่ดินเลขที่  ๒๙

 

เนื้อที่ธรณีสงฆ์ของวัดสว่างอารมณ์

มีเนื้อที่ทั้งหทด ๑๐๔ ไร่  ๓ งาน ๔๒ ตารางวา

๑. ตามโฉลดเลขที่  ๕๓๒๙  สารบัญเล่มที่ ๕๔  หน้าที่ ๒๙  ที่ดินระหว่าง ๙ น. เลข ๑  หน้าสำรวจ ๒๘๓

ตำบลนราภิรมณ์ อำเภอบางปลา

๒. ตามโฉลดเลขที่  ๗๒๐๖  สารบัญเล่มที่ ๐๓  หน้าที่  ๐๖  ที่ดินระหว่าง ๙ น.  ๑๓ อ. หน้าสำรวจ ๓๕๖

 ตำบลนราภิรมณ์ อำเภอบางปลา

ลักษณะพื้นที่ทั่วไป (ที่ตั้งวัด)

มีลักษณะที่เป็นที่ราบลุ่ม  เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม ซึ่งสมัยก่อนนั้นมีการท่วมของน้ำ ช่วงฤดูฝน ต่อมาน้ำก็ลดลงและจางหายไปจากการท่วมนั้น  เพราะว่ามีระบบชลประทานและได้สร้างคลองระบายน้ำ และสิ่งปลูกสร้างขึ้นอีกมากมายจึงมีระบบป้องกันน้ำเป็นอย่างดี พร้อมกรมชลประทานค่อยดูแลให้ความสะดวกแก่ท้องที่

 

ลำดับอดีตเจ้าอาวาสตั้งอดีตถึงปัจจุบัน

๑.  หลวงปู่จันทร์                   ดำรงตำแหน่งเมื่อ                  ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด

๒. พระอาจารย์ล้อม                ดำรงตำแหน่งเมื่อ                  ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด

๓. พระอาจารย์ช่วง                 ดำรงตำแหน่งเมื่อ                  ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด

๔. พระอาจารย์ชุ่ม                  ดำรงตำแหน่งเมื่อ                  ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด

๕. พระอาจารย์บุญธรรม           ดำรงตำแหน่งเมื่อ                  ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด

๖.พระอธิการบุญเกิด                ดำรงตำแหน่งเมื่อ                  พ.ศ. ๒๕๑๕ ๒๕๒๒

๗. พระอาจารย์สืบ               ดำรงตำแหน่งเมื่อ                  พ.ศ. ๒๕๒๒ ๒๕๒๓

๘. พระอธิการผืน ทีปงกโร     ดำรงตำแหน่งเมื่อ                  พ.ศ. ๒๕๒๓ ๒๕๒๖

๙. พระอธิการสมบัติ อรุโณ     ดำรงตำแหน่งเมื่อ                  พ.ศ. ๒๕๒๖ ๒๕๓๘

๑๐. พระครูโสภณสาโรภาส     ดำรงตำแหน่งเมื่อ                  พ.ศ. ๒๕๓๘ ปัจจุบัน

 

ยุคที่มีการก่อสร้างเป็นวัดและมีอุโบสถเป็นครั้งแรกและต่อมา

เริ่มก่อสร้างเมื่อปี  พ.ศ. ๒๔๒๕  และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๙ เป็นอุโบสถมหาอุดต่อมาพระอธิการชุ่ม เตชธมโม  ก็ได้ทำการซ่อมแซมตลอดมา

และต่อมาพระครูโสภณสาโรภาส  ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสได้เริ่มสร้างอุโบสถหลังใหม่เพื่อทดแทนหลังเก่าที่ชำรุดและทรุดโทรมไปมากและได้พัฒนาวัดตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๙เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

 

พระราชครูวามเทพมุนี   หัวหน้าพราหมณ์  สำนักพระราชวัง

เป็นผู้ทำพิธีบวงสรวงพระอุโบสถหลังใหม่ของวัดสว่างอารมณ์  และแบบของพระอุโบสถ ช่างหลวงเป็นผู้ออกแบบ

ซุ้มประตูและหน้าต่างเป็นยอดพระมหามงกุฎ  ส่วนหลังคาพระอุโบสถ ใช้กระเบื้องสีเดียวกับพระอุโบสถ 

วัดพระแก้ว ภายในพระอุโบสถมีรูปจิตรกรรมโดยฝีมือช่างหลวง

 

งบประมาณในการก่อสร้าง กว่า ๓๐ ล้านบาทเศษ โดยมีผู้จองเป็นเจ้าภาพในการก่อสร้างกับทางวัดตามกำลังศรัทธาโดยมีหมายกำหนดการฝังลูกนิมิต ประมาณ ปี ๒๕๕๗

ปัจจุบัน พระครูโสภณสาโรภาส  ได้ปรับปรุงบูรณะซ่อมแซ่มเปลี่ยนช่อฟ้า ใบระกา มุงกระเบื้องใหม่ทั้งหลังเพื่อทดแทนของเก่าที่ชำรุดทรุดโทรม จนสามารถใช้ประโยชน์ได้เหมือนเดิม

 

การพัฒนาวัดที่มีการสืบต่อมากันโดยลำดับ

การพัฒนาในยุคต้นๆ ไม่สามารถทราบประวัติที่แน่ชัด แต่ก็ได้บูรณะซ่อมแซม พัฒนาวัดตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๙ เป็นต้นมา พร้อมทั้งได้ทำการหรือดำเนินการก่อสร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาควบคู่กับการบูรณะไปด้วย โดยดำเนินการก่อสร้างกำแพงรอบๆบริเวณวัดเพื่อจัดให้เป็นสัดส่วน สร้างเขื่อนกั้นน้ำ สร้างศาลาผักผ่อนกลางน้ำ สร้างห้องน้ำจำนวน ๑๓ ห้อง ไว้รองรับประชาชนทั่วๆไป ที่มาบำเพ็ญกุศล สร้างกุฏีสงฆ์จำนวน ๑ หลัง สร้างซุ้มประตูเข้าวัดจำนวน ๒ ซุ้ม ซ่อมแซมบูรณะอุโบสถที่ชำรุดทรุดโทรมให้มีสภาพที่ดีคงทนขึ้น สร้างศาลบำเพ็ญกุศลเพิ่มขึ้นจำนวน ๑ หลัง พร้อมทั้งจัดระเบียบต่างๆ ในบริเวณวัดให้เรียบร้อยสวยงามเป็นที่สุขใจ สบายใจ ต่อประชาชนทั่วๆไป สร้างถนนคอนกรีตในบริเวณวัด และเทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กในบริเวณวัด เป็นลำดับสืบต่อไป

ประวัติการก่อสร้างวัตถุ

อุโบสถ เป็นการบูรณะซ่อมแซมในส่วนที่ชำรุดทรุดโทรม เช่น เปลี่ยนช่อฟ้า-ใบระกา กระเบื้อง ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ หมดงบประมาณทั้งสิ้นจำนวนเงิน ๑00,000 บาท (หนึ่งแสนบาท)

ศาลาการเปรียญ เป็นการบูรณะซ่อมแซมในส่วนที่ชำรุดทรุดโทรมในบางส่วน อาทิเช่น เปลี่ยนกระเบื้องบางส่วน ทาสีใหม่บ้าง หมดงบประมาณทั้งสิ้นจำนวน ๕0,000 บาท (ห้าหมื่นบาท)

ฌาปนสถาน  ได้ทำการบูรณะซ่อมแซมใหม่หมดทั้งหลัง

หมดงบประมานทั้งสิ้น ๑,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาท)

ศาลากลางน้ำและเขื่อนกั้นน้ำ ได้จัดสร้างเขื่อนกั้นน้ำ พร้อมทั้งศาลาพักผ่อนจำนวน ๑ หลัง หมดงบประมาณในการดำเนินการทั้งสิ้นจำนวนเงิน ๓๕0,000 บาท (สามแสนห้าหมื่นบาท)

กำแพงวัด ได้จัดสร้างกำแพงรอบๆบริเวณวัดเพื่อเป็นฯสัดส่วนระเบียบเรียบร้อย โดยใช้อิฐศิลาแลงถือปูนทั้งหมดในการก่อสร้างใช้งบประมาณหมดทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงิน ๑,๑00,000 บาท (หนึ่งล้านหนึ่งแสนบาท)

ซุ้มประตูวัด ได้ดำเนินการจัดสร้างซุ้มประตูวัด เพื่อความเรียบร้อยเป็นสัดส่วน ในการเข้าออกของประชาชนทั่วไปโดยหมดงบประมาณจำนวนเงินทั้งสิ้น ๘00,000 บาท (แปดแสนบาท)

กุฏีสงฆ์ ได้จัดสร้างกุฎีสงฆ์เพิ่มขึ้นเพราะความเพียงพอกับจำนวนพระภิกษุและสามเณร จำนวน ๒ หลัง เป็นลักษณะทรงไทย ๒ ชั้น กึ่งไม้ก่ออิฐถือปูน หมดงบประมาณจำนวนเงินทั้งสิ้น ๘00,000 บาท (แปดแสนบาท)


ประวัติปูชนียวัตถุของวัด

         พระพุทธรูปประจำอุโบสถ(หลวงพ่อพุทธสิทธิ)ปรางสะดุ้งมาร มีหน้าตักขนาด ๓0 นิ้ว

หน่วยงานราชการ ที่ตั้งอยู่ภายบริเวณวัด

         โรงเรียนประชาบาล วัดสว่างอารมณ์

          สถานีอนามัย บ้านคลองสว่างอารมณ์

นามไวยาวัจกรของวัด

           นายประสาร บางข่า

           นายสุวรรณ แจ่มกระจ่าง

 

ประวัติวัดสว่างอารมณ์โดยสังเขปนี้ ได้รวบรวมและเรียบเรียงขึ้นจากผู้รู้หลายท่านที่ยังมีชีวิตอยู่และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัดนี้ จากคำบอกเล่าของผู้ที่ได้พบและพูดคุยเป็นบางส่วน ทั้งนี้ก็ได้รับการแนะนำและชี้แจงประวัติจาก พระครูโสภณสาโรภาส เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน หากจะมีประวัติคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงบ้างเป็นบางส่วน และหากเกิดขาดตกบกพร่องแต่ประการได อาตมาภาพต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย ขออนุโมทนา.....

 

 

ขอรับรองว่าถูกต้องตามนี้

 

(พระครูโสภณสาโรภาส)

เจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์